พระพิหารเขียน พระพุทธรูปประธานในวิหารเขียน พระบรมธาตุนคร

    ในอดีตเคยมีงานเขียนหลายชิ้นที่เปรียบเทียบพระพิหารเขียน-ซุ้มเรือนแก้ว กับพระประธานของวัดไลย์ ลพบุรี ทีมของพี่เอิร์ล อ.กอล์ฟ เพิ่งลงภาพโฟโตแกรมของพระประธานวัดไลย์เมื่อวานนี้ในเพจมรดก – https://www.facebook.com/HeritageandCulture/posts/pfbid0zRe1FTt2ztXzXPvKu4hd5K3mw42W98fbv2YA6cBgX6vVzZpm3kemHXMbbDaSx4prl
เผื่อใครเคยอ่านงานศึกษาเรื่องเทียบพระสองที่จะลองเทียบกันดูครับ
พระพิหารเขียน เก็บข้อมูลด้วยเทคนิค Photogrammetry
—————————
    ตำนานพระบรมธาตุกล่าวว่าวิหารเขียนสร้างโดยหลวงศรีวรวงษาในปี 1919 / อายุอิฐจากการเก็บตัวอย่างที่ฐานรากกำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 (กรมศิลปากร) อายุอิฐเก่ากว่าปีที่ระบุในตำนานราว ๆ ครึ่งศตวรรษ วิหารเขียนเคยทำหน้าที่เป็นวิหารหลวง หรือวิหารประธานหน้าพระบรมธาตุเจดีย์มาก่อน ก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแกนหลักของวัดจากแนวเหนือใต้มาสู่แกนตะวันตก – ตะวันออก เมื่อมีการสร้าง/ขยาย วิหารธรรมศาลานอกพระด้าน (ระเบียงคด) รับการสัญจรเข้ามาด้านตะวันออก (อาจรวมถึงการสร้างวิหารธรรมรูจีซึ่งไม่เหลือสภาพความเป็นวิหารอยู่แล้วในด้านตะวันตก)
    จากกระบวนที่เลณฑุบาทพระศรีรัตนมหาธาตุ เอกสารซึ่งให้รายละเอียดการกัลปนาที่ดินในเมืองและรอบ ๆ เมืองนครศรีธรรมราชให้แก่สถูป และพระพุทธรูปสำคัญภายในวัดพระบรมธาตุสมัยอยุธยา ได้ระบุชื่อพระพุทธรูปประธานในวิหารเขียนนี้ตามชื่อวิหาร เรียกว่าพระพิหารเขียน หรือพระเพหารเขียน (เช่นเดียวกับที่เรียกพระประธานในวิหารธรรมศาลาว่า พระธรรมศาลา ในวิหารหลวงว่า พระพิหารหลวง)
    และระบุตำแหน่งที่นากัลปนาอุทิศดอกผลจากที่นาให้กับพระพิหารเขียน ผมพยายามจะเทียบตำแหน่งนากัลปนาในกระบวนที่ กับตำแหน่งปัจจุบันได้ประมาณนี้
นาปรัง
    1.ชายคูทาชี 2 ท่อน (น่าจะอยู่ราว ๆ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา)
    2.ที่ 13ท่อน (อยู่ระหว่างทิศใต้ของคลองคูภายกับวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา)
นาปหยาม
    1.นาลึก 7 ท่อน (น่าจะอยู่ระหว่างซอยหน้าวัดท้าวโคตรกับซอยวีระสุนทร)
    2.ที่อาคเนย์เมืองโคกโพธิ์ตะเหวด 9 เส้น (อยู่ใต้แนวคลองสวนหลวงฝ่ายตะวันตกของถนนพัฒนาการทุ่งปรัง)

เผยแพร่ครั้งแรกใน – https://www.facebook.com/photo/?fbid=170114729040474&set=a.116931534358794

ใส่ความเห็น