ยังเหลือลายเขียนสีดินเทศอยู่ 13 ช้าง ทั้งหมดมีแพทเทิร์นคล้าย ๆ กัน แต่ละเอียดผิดกันไปในแต่ละช้าง กระบวนลายดูเป็นของเก่ารุ่น พศว.22 ขึ้นไปทั้งนั้น ที่ทำเป็นลายปูนปั้นมีอยู่ 2 ช้าง ทำเป็นโกลนของเครื่องคชาภรณ์หยาบ ๆ ที่เหลืออีก 7 ช้างลายลบไปจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นแล้ว ช้างที่ฐานพระธาตุข้างทิศใต้ในรูปนี้เป็นหนึ่งในช้างที่เหลือลายเขียนเยอะที่สุด ประกอบด้วยลายที่ตัวช้างบริเวณใบหู กับเข่า ลายเครื่องคชาภรณ์ที่ศีรษะ ศอ และข้อเท้า
ในสมัยอยุธยา ลายที่ช้างเหล่านี้น่าจะเป็นของโดดเด่น และน่าดูมาก ตอนยังไม่ทำราวแสตนเลสสำหรับแขวนผ้าคนคอนไม่น้อยน่าจะเคยมาลอดงวงช้างกัน ตอนเด็ก ๆ ผมก็เคยมา
คติหรือค่านิยมลอดงวงช้างที่เพิ่งเลิกไปเมื่อทำราวแสตนเลสพาดผ้าห่มพระธาตุนี้ น่าจะมีส่วนไม่น้อยที่ทำให้ลายที่ช้างสึกหรอไป เห็นได้จากการที่ช้างฝั่งทิศตะวันออก ซึ่งเป็นทิศที่มีคนมาสักการะพระบรมธาตุมากที่สุดนั้นแทบไม่เหลือลายอยู่เลย ขณะที่ทิศตะวันตก และทิศใต้เหลืออยู่มากตามลำดับ