พระทิพมนต์ สมัยรัชกาลที่ ๑ ของสีกาทองแก้ว

    หนังสือบุดพระทิพมนต์ สร้างขึ้นในปีพุทธศักราช 2337 เพียง 1 ปีหลังวัดจันทารามได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เป็นหนังสือบุดที่ปรากฏศักราชเก่าที่สุดเท่าที่สำรวจพบในวัดจันทาราม ท่าวัง เมืองนครศรีธรรมราช ในปัจจุบัน (พบใบลานเก่าที่สุดจารในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) ตัวบุดใช้อักษรขอม และอักษรไทยย่อ มีภาพประกอบลงสีสวยงาม มีความสำคัญต่อการทำความเข้าใจระบบการเขียน และศิลปกรรมฝีมือช่างพื้นเมืองนครในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ไม่น้อย

    มีข้อความท้ายบุดระบุว่า “เขียนจํบณ่วันสุก เดือน ๑๑ แรม ๘ คำปียขานฉสํกยูไนวัดสันต่ร่ดู สาศน้าพระสับภันญูเจาลวงไปยแล้วใด ๒๓๓๗ พระวัณสาแลยังอีก ๒๖๖๒ ภระวัณ่สาแล้ นิพฺพาณปจฺจโยโหติ อนาคเต – จบ พระทีพ่มนณีย สิยกาทองแก้ว ใดวสางใวไนยพระสาศณ้าแล้ ข้าพ่เจาฅ่อญาอุบัด เมืองนอกสรํพ่สัด ปัดจันท่เสม้า อนึ่งญาเกิดอ่สัรรเญอ่สันตา พรํมมาจ่โลกา เปนอาภัพ่บุกคํล อนึงญาใดเกีด ซืงรูบอัรพีกํล ไจยรายเจียร่จํล มิดฉาทีดถิ ฅ่อใหมียสวัดดี ฃ่อมิยปันญาเสมิอนพระม่โหสํด ฃ่อมีนำไจยอํดเสมีอนภระเตหมี ฃ่อมังฃ่มีเสมีอนเทาสียสํนไชย”

เผยแพร่ครั้งแรกใน - https://web.facebook.com/story.php?story_fbid=219566390240902&id=104024838461725

ใส่ความเห็น