

สำนวนภาษาในลานพระปาติโมกข์นิสสยะสำรับนี้ดูเก่ามาก จะเป็นไปได้ไหมครับหากต้นฉบับจะถูกแต่งขึ้น ในสมัยสุโขทัย แล้วคัดลอกสืบมาในสมัยอยุธยา มีคำ และรูปประโยคเก่า ๆ ที่เห็นในจารึกสุโขทัยบ้าง อยุธยาตอนต้นบ้าง ตัวอย่างในลานสองใบนี้หยิบมาสำรวจดูเพราะในอดีตมีผู้ผูกด้ายเป็นหมายเหตุหน้าเอาไว้ สองใบนี้มีคำน่าสนใจเช่น
ปักข์ปลาก เป็นคำซ้อน ปักข์/ปักษ์ แปลว่า ข้าง-ฝ่าย กับคำ ปลาก ที่แปลว่า ข้าง-ฝ่าย เหมือนกัน ภาษาใต้หลายพื้นที่ก็ยังใช้คำนี้อยู่ในชีวิตประจำวัน ออกเป็น ปราก / ปร้า / ประ / ปละ บ้าง
มีคำว่า หลายรู้ ในประโยคว่า “หฺลายรูแจฺงแทแลฺวดฺังอัฺน” ประโยคนี้เว้นวรรคแยกออกจากประโยคอื่นแสดงว่าจบความในตัว
น่าจะเป็นคำประสม หลาย แปลว่า ต่าง เข้ากับรู้ แปลว่า ต่างรู้
“ดฺังอฺัน” เหมือนล้านนาใช้ “ดังอั้น” “ว่าอั้น” ผมถ่ายถอดเป็น ดังนั้น ไว้ก่อน
.มีคำว่า แควน ในประโยคว่า “มีแควนมากกว่าธรรมวาที…” คำนี้น่าจะใช้ในรูปคำซ้อน แควน/มากกว่า ในภาษาล้านนายังเก็บคำว่า แฅวน แปลว่า มาก/ยิ่ง เอาไว้
มีคำซ้อน เยภุยฺยะ/มาก ในประโยค “มีด้วยเยภุยฺยะมากกว่าอธรรมวาทีปักข์” ต้นฉบับเขียนติดกันไม่ได้แยกบาลีออกจากไทย ทั้ง เยภุยยะและมาก มีความหมายเหมือนกัน
||31r|| |1| ฉันนี้ เกิดมีเมื่อใดนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายฝูงรู้สภาวะธรรมแจ้งแท้มาประชุมนุมกันในกาลเมื่อนั้น วิจารณาดูลัทธิแห่งปักข์ทั้งสองปลากนั้น ลัทธิปักข์ปลากใดชอบธรรมแท้นั้น ลัทธิแห่งปักข์ |2| ปลากใดบ่มิชอบธรรมแท้นั้นก็ดี หลายรู้แจ้งแท้แล้วดังนั้น สงฆ์พึงจะว่า(ระ)งับด้วยสัมมุขาวินัยนั้นแล
๚ ผิว่าลัทธิแห่งภิกขุสองชอบปักข์นั้น เห็นมาดูชอบธรรมดังกัน |3| นั้น
ฯ ลัทธิอันใด ตามสภาวะในบาลีพระเป็นเจ้าบ่มิให้พ้นให้เหลือควรเป็นแก่นเป็นสาร จะควรจำเอาดังนั้น ลัทธิอันนั้นเรียกว่าชอบแล
ฯ ผิว่าบ่มิเป็นประโย |4| ชน์ บ่มิเป็นแก่นเป็นสาร ยากเปล่าดายดังนั้นเรียกว่า อธรรมแล
ฯ ภิกขุฝูงใดถือลัทธิอันนั้น ภิกขุฝูงนั้นชื่อว่า อธรรมวาทีภิกขุแล
ฯ ผิว่าภิกขุอันเป็นอธรรมวาทีปักข์มีแควนมากกว่าธรรมวา ||31v เขฺย|| |1| ทีปักข์นั้น วิวาทาธิกรณ อันอย่าเพ่อว่า(ระ)งับไว้หนก่อน ฯ ในกาลเมื่อใดภิกขุอันเป็นธรรมวาทีปักข์มีด้วยเยภุยฺยะมากกว่าอธรรมวาทีปักข์แม้นว่ายิ่งตนหนึ่งก็ดี
ในกาลเมื่อนั้นสงฆ์พึงจะว่า |2| (ระ)งับวิวาทาธิกรณอันนั้นเสียด้วยกัมมวาจา อันชื่อว่า เยภุยฺยสิกา ดังพระเป็นเจ้ากล่าวใว้ในบาลีนั้น
———————-
ในหน้า ||32v ไขฺย|| – ||33r|| ซึ่งเป็นท้ายของผูกที่ 17 อันเป็นผูกสุดท้าย มีข้อความของผู้แต่งต้นฉบับ แทนตัวเองว่า กู เป็นการใช้สรรพนาม กู แทนตัวเองในบริบททางการมาก เช่น มฺยา อันกู อุทฺทิฎฺฐา โข สำแดงแล้วแล ซึ่งก็ดูเป็นสำนวนสมัยสุโขทัยมาก เรามักจะคุ้นเคยกับ ข้าฯ อาตฺมา ซึ่งนิยมในสมัยอยุธยามากกว่า
.
||32v ไขฺย|| |4| ล ฯ ธารยามิ ๚ อายสฺมนฺเตา ดู ◯ กฺรา ฯ สตฺตธมฺมา อนฺวาธมฺมเจฺตอฺัน ฯ อธิกรณสมถานา ◯ ม ชืวาอธิกรณสมถ ฯ มยา #อฺัน
|5| #กู ฯ อุทฺธิฏฺฐาเขา สำแตฺงแลฺวแล ฯ อหํ รี ปุจฺฉามิ กถาฺมตู ฯ อายสฺมนฺเต ชฺิงสู ฯ ตฺตถอธิกรณสมเถสุธมฺเมสุ ไน ฯ ตุมฺเห รี ฯ ปริสุทฺธา อฺัน ฯ กจฺจิอตฺถิ มี
||33r|| |1| คำวามี แลรุ ฯ อหํ รี ฯ ปุจฺฉามิ กถาฺม ทุติยมฺปิแมนฺวาถฺวนเสฺางคฺาปกฺตี ฯ คำอฺันจกฺลาวเมฺิอหฺนากฺวานี กพฺิงจรูฉฺันตฺังกฺลาวแลฺวเกาฺนนฺันเทฺิต ฯ อุทฺธิฏฺฐํเขา สำแตฺง ะ
|2| แลฺว ฯ เตรสสํฆาทิเสสาธมฺมา รี ◯ #มยา#อฺันกู ฯ อุทิฏฺฐากสำแตฺง ฯ เทฺวอนิตาธมฺมา รี อนิยต ◯ ธมฺมเสฺางอฺัน ฯ มยา อฺัน ฯ อุทฺธิฏฺฐา ฯ
|3| ฯ ติสฺสนิสฺสคฺคิยา ปาจิตฺติยาธมฺมา รี ◯ นิสฺสคฺคิย ปาจิตฺติยธมฺมา ๓ สฺิป ฯ #มยา#อฺันกู ฯ อุทิฏฺฐา กสำ ◯ แตฺงแลฺว ฯ ปพฺพาสตฺตติเสขิยาธมฺมา
|4| รี เสขิยธมฺม ไตเจฺตสฺิปหา ฯ มยา ◯ อฺัน อุทิฏฺฐา ฯ สตฺตอธิกรณสมถาธมฺมา รี<<+อธิ>> มยา #อฺัน ◯ #กู อุทิฏฺฐาสำแตฺงแลฺวแล ฯ เอตฺต
|5| กํสิกฺขาปทํ รี สิกฺขาปทเทานี สุตฺตาคตํ มาไนสุตฺต ฯ สุตฺตปริยาปนฺนํ เขาไนสูต ฯ ภควเตา แหฺง ฯ อาคจฺฉติ กมาเถฺิง ฯ อุทฺเธสํ ชฺิงอฺันสำแตฺง ฯ อนฺจ
———————-
จากที่อ่านมาสองสามวันก็มีคำน่าสนใจเช่นคำว่า ยินหลากยินดี ซึ่งเราเจอคำนี้ในเตภูมิกถา
.
ลานจบนี้สำรวจพบที่นครศรีธรรมราช มี 17 ผูกจบคงอยู่แต่ผูก 2 – 17 ระบุว่าสร้างโดยพระมหาอินทโชติ รูปอักษรเป็นแบบอยุธยาแต่ไม่ระบุศักราชที่จารไว้ ผูกที่ 1 หายไป อาจเป็นผูกที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับคัมภีร์นี้มากกว่านี้ ส่วนท้ายผูก 17 บอกให้รู้ว่าคัมภีร์นี้ชื่อว่า “ภิกขุปาฎิโมกข์ ฉบับนิสยะ” หรือ “นิสยะปาฎิโมกข์”
.
||33v โขฺย|| |2| … ๚ ภิกฺขุปา |3| ฏิเมากฺข นิสฺสเยา นิฏฺฐิเตา ฯ ◯ นิไสฺญยปาฏิเมากฺข จฺปปริปุณแลฺวเทานีแล ๚ นิพฺพาน ◯ ปจฺจเยาเหาตุ ๚
.
อาจจะยังยากที่จะยืนยันว่าต้นฉบับของคัมภีร์เล่มนี้แต่งขึ้นในสมัยสุโขทัยจนกว่าจะได้ถ่ายถอดเนื้อหาให้ครบดูว่ามีอะไรมากกว่านี้ไหม ซึ่งจากจำนวน 400 กว่า folio คงไม่อาจทำได้ในเร็ววัน สุโขทัยเป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่นาน ผมเชื่อว่าก็น่าจะมีการแต่งคัมภีร์ แปลคัมภีร์ไม่น้อย ซึ่งตอนนี้เรามีแต่เตภูมิกถาคัมภีร์เดียวที่มีความชัดเจนว่าคัดลอกตกทอดมาจากคัมภีร์สมัยนั้น ในหมู่คัมภีร์ใบลานหลายแสนผูกที่ยังเหลืออยู่ในประเทศนี้ อาจจะมีลานคัดลอกมาจากคัมภีร์ที่แต่งสมัยสุโขทัยหลงเหลืออยู่บ้างก็ได้ครับ ซึ่งก็น่าจะต้องมีแน่ ๆ รอแค่มีคนไปอ่านพบเท่านั้น