จารึกอุโบสถวัดคูเต่า ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา

ตำแหน่งจารึก : จารึกฝังอยู่บนผนังเหนือประตูทางเข้าด้านในอุโบสถฝั่งทิศตะวันออก

วัสดุ : หินไม่ทราบชนิด ลักษณะคล้ายหินชนวน

ขนาดจารึก : ประมาณ 22.50 x 30.00 เซนติเมตร

ประวัติการศึกษาจารึก

ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ได้อ่านและอธิบายข้อความบนจารึกลงในบทความ คูเต่า,วัด รวมอยู่ในสารานุกรมศิลปวัฒนธรรมไทยภาคใต้ เล่ม ๓ หน้า ๑๐๖๗ – ๑๐๗๓ (๒๕๔๒) ต่อมามีการอ้างถึงศักราชการสร้างโบสถ์วัดคูเต่าจากจารึกในหลายแหล่ง แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการอ่านถ่ายถอดคำจารึกทั้งหมดอีกหรือไม่

การอ่านจารึกในครั้งนี้ จะทำการอ่านใหม่โดยใช้ภาพถ่ายความละเอียดสูงเพื่อปรับปรุงคำอ่านให้มีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าจารึกมี ๑๐ บรรทัด ข้อความบรรทัดที่ ๑ และ ๑๐ หายไปกว่าครึ่ง การถ่ายถอดเนื้อหาจะใช้คำอ่านของศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ซึ่งได้อ่านไว้ก่อนจารึกจะชำรุดเพิ่มเติม เป็นแนวทางในการตรวจสอบเทียบกับร่องรอยที่ยังพอเหลืออยู่

เนื้อหาโดยย่อ :

กล่าวถึงคณะบุคคลนำโดยพระอธิการหนู เจ้าอาวาสวัดคูเต่า ณ ขณะนั้นได้สร้างพระวิหาร (ปัจจุบันคืออุโบสถ) ต่อจากที่พระอาจารย์แก้วผู้เป็นอาจารย์ของท่าน และเป็นเจ้าอาวาสองค์ก่อนของวัดคูเต่าได้สร้างค้างเอาไว้เมื่อ ๑๕ ปีก่อน ได้เริ่มจับการก่อสร้างต่อในเดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๔๕ ตรงกับรัตนโกสินทร์ศก ๑๒๑ เป็นปีขาล

จารึกได้ระบุถึงรายนามพระภิกษุสำคัญอีก ๓ องค์นอกจากพระอธิการหนู คือชีต้นจัน ชีต้นสีทอง และชีต้นหอม ระบุชื่อขุนนางและคหบดี ๔ คนได้แก่ หลวงอุดม คุณโต คุณมาลี และคุณออม ซึ่งได้ช่วยสมทบวัสดุและเงินในการซ่อม ระบุถึงการหล่อพระพุทธรูปไว้ในพระวิหาร และระบุจำนวนเงินทั้งหมดที่ใช้ในการก่อสร้างพระวิหาร หล่อพระพุทธรูปว่าเป็นเงิน ๑,๕๐๐ เหรียญ ลงท้ายจารึกด้วยคำอนุโมทนาขอให้ผลบุญทำให้คำอธิฐานสัมฤทธิ์ผล…

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ภาพด้านล่างครับ

เผยแพร่ครั้งแรก – https://shorturl.asia/SyFP4

ใส่ความเห็น