แม่ลายชุดนี้ ถูกเขียนอยู่บริเวณหน้าปลายของแผนที่กัลปนาคาบสมุทรสทิงพระ ซึ่งเป็นหน้าว่าง แม้ว่าตัวเอกสารจะมีอายุถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่แม่ลายชุดนี้ก็น่าจะมีอายุเพียง รัชกาลที่ 3 – 5 และเขียนไว้ก่อนที่จะถูกนำส่งมาเก็บรักษาที่หอสมุดวชิรญาณ เนื่องจากอักขระวิธีที่ใช้เขียนเป็นการเขียนบนพื้นฐานของสำเนียงภาษาใต้
เหตุที่ทราบว่าเป็นแม่ลายตอกกระดาษเนื่องจากคำบรรยายที่ปรากฏกำกับตัวลาย
แม่ลายชุดนี้แม้ว่าจะมีไม่มาก และเป็นฝีมือชาวบ้านไม่ซับซ้อนนัก แต่ก็น่าจะเป็นฝีมือของช่างบนคาบสมุทรสทิงพระ และหากพิจารณาอย่างละเอียดแล้ว จะพบเห็นวิธีคิดของช่างในการลดทอนจากลายเต็มรูปมาสู่ลายตอกกระดาษอย่างเป็นขั้นตอนน่าสนใจ และมีคุณค่าเป็นอย่างยิ่งครับ
อ้างอิง – เอกสารหอสมุดแห่งชาติ
หมวด ตำราภาพ
หมู่ สมัยอยุธยา
ชื่อ แผนที่เมืองนครศรีธรรมราช จ.ศ.977
เลขที่ 3 มัดที่ 1 ตู้ 117
เพิ่มเติมข้อมูลจากคุณ Damrong Cheevasaro
และขอเพิ่มเติมข้อมูล เรื่องลายทองอังกฤษ เป็นงานการแกะกระหนก โดยใช้วิธีการเช่นเดียวกับการแกะหนังตะลุง โดยใช้มีดแบบเดียวกัน บนกระดาษอลูมิเนียมฟรอย ที่ช่างจะเรียกว่ากระดาษทองอังกฤษ สำหรับใช้ในการประดับตกแต่งโลงศพ ของคนคาบสมุทรสทิงพระ…ซึ่งในปัจจุบันก็ยังมีการทำการใช้การอยู่ครับ