หมายเหตุ โพสต์นี้ผมปรับปรุงจากบันทึกสนาม เนื้อความข้างจะยาวจะตัดเป็นสองตอน คือตอนข้อสังเกตภาคสนามเรื่องเสายูปะ กับตอนข้อสังเกตเรื่องพระเวียน ระบายฉัตรโลหะครับ หลายเดือนก่อนผมมีโอกาสได้รับใช้พระครูเหมเจติยาภิบาล ช่วยเก็บข้อมูลงานศิลปกรรม งานสถานปัตยกรรมในวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชอยู่เป็นระยะสั้น ๆ มีสโคปงานบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระบรมธาตุเจดีย์โดยตรงที่ผมเลี่ยงใช้ทางอ้อม ๆ อยู่นานในการศึกษาองค์ประกอบส่วนที่อยู่สูงขึ้นไป เนื่องจากด้วยความที่เป็นลูกหลานชาวนคร เราตระหนักดีว่าพระบรมธาตุนั้นเป็นของศักดิ์สิทธิ์เพียงไร การขึ้นนั่งร้านไปด้านบนนั้นไม่ใช่เรื่องสนุกนัก ไม่ใช่เพียงในแง่ของระเบียบกฏหมาย แต่เป็นความรู้สึกไม่เหมาะควรที่ผู้ใหญ่สอนอยู่เสมอ แต่ยังคงมีเรื่องน่าสนใจอยู่หลายจุดที่สอบถามพระอาจารย์ หรือช่างที่ขึ้นไปแล้วไม่ได้ความเท่าที่ต้องการ
จุดที่ผมสนใจที่สุดไม่ได้เป็นเครื่องมหัคฆภัณฑ์ที่ยอดพระธาตุ แต่เป็นบริเวณบัลลังก์ และก้านฉัตร เพราะตำแหน่งนี้เป็นรอยต่อของงานช่างสมัยศรีธรรมาโศก
“ส่วนฐานของสถูป” อาจเป็นของที่เริ่มทำตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 16 “ส่วนองค์ระฆัง “บัลลังก์” นี้เป็นงานในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ขณะที่พ้นจากบัลลังก์ขึ้นไปคือ “ก้านฉัตร” “ปล้องไฉน” นี้เป็นงานซ่อมสมัยอยุธยา มีการซ่อมสองครั้ง คือในสมัยพระเจ้าทรงธรรมเมื่อราว ๆ พ.ศ. 2155 หลังจากเมืองนครถูกทิ้งร้างเพราะโจรสลัดเข้าปล้น และยอดทลายลงมาเหลือแต่บัลลังก์ ตามระบุในตำนานพระธาตุเมืองนคร และสมัยพระเจ้าปราสาททองเมื่อ พ.ศ. 2190 ที่ฟ้าผ่ายอดพระบรมธาตุหักดังมีจารึกที่แกนปลีใต้กลีบบัวหงายระบุไว้
ตำแหน่งบัลลังก์ ก้านฉัตรนี้ จึงเป็นจุดรวมร่องรอยของสองยุคสองสมัยที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง และได้รับการพูดถึง หรือให้รายละเอียดน้อยมากกว่าที่ควรจะเป็น ผม ช่างใจอยู่พักใหญ่ ก็กราบเรียนอาจารย์พระครูว่าถ้าขึ้นไปจะได้ประโยชน์อย่างไร โดยได้รับความอนุญาตจากท่านเจ้าคุณเจ้าอาวาส ท่านไข่ (พระคำนึง ขันติโก) และพระครูเหมเจติยาภิบาลแล้ว ในบ่ายวันหนึ่งก่อนจะเริ่มมีการรื้อนั่งร้านลงจากกลีบบัวทองคำก็ได้ตามช่างที่เตรียมรื้อนั่งร้านขึ้นไป โดยพกขึ้นไปเพียงกระดาษเก็บข้อมูล ตลับเมตร และปากกาสำหรับจดตามระเบียบ
โจทย์ของการเก็บข้อมูลมีสามเรื่องคือ
1.ตรวจสอบเสายูปะ หรือหลักหินที่ปักตีนบัลลังก์พระธาตุทั้งสี่ทิศ
2.ตรวจสอบบริเวณบัลลังก์ กับพระเวียนที่เป็นรอยต่อของงานช่างสมัยศรีธรรมาโศกกับอยุธยา
3.ตรวจสอบระบายก้านฉัตรว่าเป็นวัสดุอะไร ทำงานยังไงในแง่โครงสร้าง
4.ระยะจิปาถะน่าสนใจอย่างขนาดปล้องไฉนแต่ละปล้อง ฯลฯ ระยะต่าง ๆ ที่กระสวนมาผมสรุปที่จำเป็นไว้ในกระดาษแผ่นเดียวดังที่แปะเอาไว้แล้ว ต่อไปจะเป็นการสรุปจากบันทึกสนามเพื่อให้เนื้อความกระชับเข้า
1.เสายูปะหรือหลักหินที่ปักตีนบัลลังก์พระธาตุทั้งสี่ทิศ ที่ตีนบัลลังก์พระธาตุทั้งสี่ทิศมีแท่งหินเล็ก ๆ ปักอยู่ งานวิทยานิพนธ์ของ อ ประภัสสร์ ชูวิเชียร เป็นงานชิ้นแรกที่อธิบายเสาเหล่านี้ว่าคือเสายูปะ (โปรดดูหน้า 53 – 54 – http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp…)
เสายูปะในชั้นเดิมคือเสาแกนกลางเจดีย์ ปักจากฐานทะลุขึ้นมาเป็นก้านฉัตร ที่จริงแล้วหากดูเจดีย์ญี่ปุ่นที่เป็นเจดีย์เครื่องไม้ จะมีเสาแกนกลางคือเสายูปะนี้อยู่ ตั้งอยู่โดด ๆ เป็นคติแกนจักรวาล ซึ่งนักวิชาการสมัยใหม่บางท่านมองว่ามันมีประโยชน์ในแง่ของการพยุงโครงสร้างเจดีย์ญี่ปุ่นให้ไม่พังจากแผ่นดินไหวด้วย
สำหรับเจดีย์ลังกาในสมัยโปโลนารุวะ อาทิรังโกตเจดีย์ ที่จะให้อิทธิพลทางรูปแบบกับพระบรมธาตุเจดีย์เมืองนคร เสายูปะที่ได้เคยเป็นหลักกลางเจดีย์ได้ย้ายออกมาอยู่สี่ด้านของตีนบัลลังก์ ด้านละ 2 ต้น เนื่องจากแต่ละต้นมีขนาดเล็ก ๆ เสายูปะในยุคนี้จะไม่ใช่ของที่เกี่ยวข้องกับความแข็งแรงเชิงโครงสร้าง แต่เป็นการปักในเชิงคติ
ที่องค์พระบรมธาตุนครปัจจุบัน_มีเสานี้อยู่_8_ต้น ทิศตะวันออกสามต้น สองต้นนั้นยังเป็นเนื้อหิน ปักตีนบัลลังก์ซ้ายขวา ต้นหนึ่งอยู่กลาง กระเดียดมาด้านหน้า ได้รับการโบกปูนแต่งรูปทรงเป็นพิเศษ ด้านเหนือใต้ มีสองต้นปักตีนบัลลังก์ซ้ายขวา ด้านตะวันตกมีต้นเดียวอยู่ตีนบัลลังก์ทางขวา ทางซ้ายไม่มี ที่ไม่มีนี้ชัดเจนอยู่ว่าไม่ใช่ของตั้งใจ แต่เป็นของหลุดหาย สะท้อนว่าเสานี้คงปักลงไม่ลึก เป็นของเชิงคติ ไม่ใช่ของมีประโยชน์ด้านโครงสร้างนัก ที่แน่ใจว่าทิศตะวันตกหลุดหายไปต้นหนึ่งนี้จะได้กล่าวถึงภายหลัง (โปรดดูผังสเก็ตประกอบ) เนื้อหินของเสา เป็นหินชนิดเดียวกับหินที่นิยมใช้ทำกรอบประตูหน้าต่างที่พบทั่วสันทรายนครทั้งสามสันทราย เป็นหินที่พบนิยมใช้ในลังกาสมัยโปโลนนารุวะด้วยเหมือนกัน ตัวหินมีการแซะร่องเป็นขีด ๆ แรกทีเดียวผมยังคิดว่าเป็นของเอาหินกรอบประตูมารีไซเคิล แต่ไม่ใช่
หินที่เป็นเสายูปะนี้ขนาดเท่า ๆ กันทุกต้น หน้าตัดเป็นแปดเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้าปาดมุม #หน้าตัดกว้างราว 18 เซนติเมตร x 24 เซนติเมตร ที่เซาะร่องที่หินนี้คิดว่าเป็นของให้ปูนเกาะง่ายเมื่อจะถือปูน สมัยหนึ่งน่าจะเคยถือปูนปิดเนื้อหินเหมือนหลักกลางด้านทิศตะวันออก หรือเหมือนกับเจดีย์วัดสวนดอกที่มีเสายูปะ และแต่งทรงเรียบร้อยเหมือนกัน (แต่เจดีย์วัดสวนดอกเป็นของในต้นพุทธศตวรรษ 20)
เอกสารที่เป็นจดหมายเหตุต่าง ๆ หรือในกระบวนพระศรีรัตนมหาธาตุเองไม่มีความทรงจำ หรือคำอธิบายเกี่ยวกับเสายูปะนี้ แต่คำอธิบายมีอยู่ในเอกสารชิ้นหนึ่ง คือพระนิพพานโสตร (สำนวนที่ 4) ซึ่งเป็นตำนานพระบรมธาตุฉบับร้อยกรอง อยู่ในตอนที่อธิบายขั้นตอนการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์อย่างเป็นลำดับ
แน่นอนว่าเราไม่อาจถือว่าคำอธิบายในพระนิพพานโสตรนี้เป็นของถูกต้องตัดสินได้ แต่ก็เป็นของมีความทรงจำน่าสนใจ ดังที่คัดมาบางส่วนนี้
พระนิพพานโสตรสำนวนที่_4
…ศิลาเก้าแผ่นหนัก ฝังเป็นหลักทั้งแปดด้าน
ขัดคอบายสถาน โดยประมาณทำขึ้นใหม่
ตีนตรุย่อมเรียบอิฐ เป็นมิดชิดมั่นเหลือใจ
หินหลักปักขึ้นไป แปดทิศไซร้ดังกล่าวมา
จนถึงที่ปรางค์นั้น ทำแข็งขันปักศิลา
ชั้นนอกถัดออกมา อิฐนั้นหนาทำแข็งขัน
แต่ปรางค์นั้นขึ้นไป ศิลาใหญ่ทำชุมกัน
ประทุมโกศขึ้นไปนั้น เหล็กแข็งขันสุดยอดปลาย
สูงเส้นสิบห้าวา ในตำราท่านว่าไว้
สามศอกออกเศษได้ ทำมากมายสำเร็จพลัน
(เอกสารเมืองนครบางยุคเรียกส่วนก้านฉัตร ปล้องไฉนว่าปรางค์ เอกสารภาคใต้บางฉบับยังเรียกเจดีย์ว่าปรางค์ก็มี อย่างตํานานพระปรางค์เมืองหงสาวดี ฉบับวัดวิหารสูง เมืองพัทลุง เรียกพระธาตุมุเตาซึ่งเป็นสถูปว่าปรางค์)
ทั้งนี้มีประเด็นเพิ่มเติมเล็กน้อยคือ #ที่ท่าชีมีหลักหินเรียกกันว่า #หินหลัก อยู่ต้นหนึ่ง #พระหลัก ก็เรียก ผมตรวจสอบภาพถ่ายเก่าของหินหลักนี้ และไปดูหินที่กระจายอยู่ที่ท่าชีแล้ว ยังไม่เจอหินที่มีสัณฐานตรงกับยูปะพระธาตุ คือต้องเป็นหินที่มีหน้าตัด 8 เหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมปาดมุม หน้าตัดกว้างราว 18 เซนติเมตร x 24 เซนติเมตร ได้เดิรหาอยู่ในพระธาตุก็ไม่เจอที่เหมาะ ๆ เข้ากันได้ หากท่านใดเจอหินที่ต้องตามคุณสมบัตินี้รบกวนชี้แนะกันเข้ามานะครับ
*สำหรับท่านที่สนใจพระนิพพานโสตร นอกจากตัวเล่มเต็มที่สามารถหาโหลดได้ทางอินเตอร์เน็ตแล้ว ขณะนี้วัดวังตะวันตกได้จัดพิมพ์หนังสือคำบรรยายประกอบภาพจิตรกรรมพระนิพพานโสตรของวัดวังตะวันตกขึ้นมา เป็นของตั้งต้นที่ดีสำหรับผู้ที่อยากศึกษาตำนานของเมืองนครผ่านจิตรกรรม และคำกลอนครับ ผู้สนใจสามารถติดต่อ พระครูพระครูพรหมเขตคณารักษ์ (ดร.ชัยสิทธิ์ โชติปญฺโญ) หรือที่วัดวังตะวันตกครับ
*ลิขสิทธิ์ของภาพ และข้อมูลเป็นของโครงการปริวรรตเอกสารปฐมภูมิประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช โดยพระครูเหมเจติยาภิบาล วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารนครศรีธรรมราช สงวนสิทธิ์ในการนำข้อมูลไปดัดแปลงโดยไม่อ้างอิง และหากต้องการนำภาพไปใช้โปรดเรียนแจ้งทางพระครูเหมเจติยาภิบาลก่อนครับ
สรุประยะสำคัญ
ระยะต่าง ๆ ที่กระสวนมาผมสรุปที่จำเป็นไว้ในกระดาษแผ่นเดียวดังที่แปะเอาไว้แล้ว ต่อไปจะเป็นการสรุปจากบันทึกสนามเพื่อให้เนื้อความกระชับเข้า
1.เสายูปะหรือหลักหินที่ปักตีนบัลลังก์พระธาตุทั้งสี่ทิศ ที่ตีนบัลลังก์พระธาตุทั้งสี่ทิศมีแท่งหินเล็ก ๆ ปักอยู่ งานวิทยานิพนธ์ของ อ ประภัสสร์ ชูวิเชียร เป็นงานชิ้นแรกที่อธิบายเสาเหล่านี้ว่าคือเสายูปะ
(โปรดดูหน้า 53 – 54 – http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp…)
เสายูปะในชั้นเดิมคือเสาแกนกลางเจดีย์ ปักจากฐานทะลุขึ้นมาเป็นก้านฉัตร ที่จริงแล้วหากดูเจดีย์ญี่ปุ่นที่เป็นเจดีย์เครื่องไม้ จะมีเสาแกนกลางคือเสายูปะนี้อยู่ ตั้งอยู่โดด ๆ เป็นคติแกนจักรวาล ซึ่งนักวิชาการสมัยใหม่บางท่านมองว่ามันมีประโยชน์ในแง่ของการพยุงโครงสร้างเจดีย์ญี่ปุ่นให้ไม่พังจากแผ่นดินไหวด้วย
สำหรับเจดีย์ลังกาในสมัยโปโลนารุวะที่จะให้อิทธิพลทางรูปแบบกับพระบรมธาตุเจดีย์เมืองนคร เสายูปะที่ได้เคยเป็นหลักกลางเจดีย์ได้ย้ายออกมาอยู่สี่ด้านของตีนบัลลังก์
ที่องค์พระบรมธาตุนครปัจจุบัน_มีเสานี้อยู่_8_ต้น ทิศตะวันออกสามต้น สองต้นนั้นยังเป็นเนื้อหิน ปักตีนบัลลังก์ซ้ายขวา ต้นหนึ่งอยู่กลาง กระเดียดมาด้านหน้า ได้รับการโบกปูนแต่งรูปทรงเป็นพิเศษ ด้านเหนือใต้ มีสองต้นปักตีนบัลลังก์ซ้ายขวา
ด้านตะวันตกมีต้นเดียวอยู่ตีนบัลลังก์ทางซ้าย ทางขวาไม่มี ที่ไม่มีนี้ชัดเจนอยู่ว่าไม่ใช่ของตั้งใจ แต่เป็นของหลุดหาย สะท้อนว่าเสานี้คงปักลงไม่ลึก เป็นของเชิงคติ ไม่ใช่ของมีประโยชน์ด้านโครงสร้างนัก ที่แน่ใจว่าทิศตะวันตกหลุดหายไปต้นหนึ่งนี้จะได้กล่าวถึงภายหลัง (โปรดดูผังสเก็ตประกอบ).
#เนื้อหินของเสา เป็นหินชนิดเดียวกับหินที่นิยมใช้ทำกรอบประตูหน้าต่างที่พบทั่วสันทรายนครทั้งสามสันทราย เป็นหินที่พบนิยมใช้ในลังกาสมัยโปโลนนารุวะด้วยเหมือนกัน ตัวหินมีการแซะร่องเป็นขีด ๆ แรกทีเดียวคิดอย่างยังคิดว่าเป็นของเอาหินกรอบประตูมารีไซเคิล แต่ไม่ใช่
หินที่เป็นเสายูปะนี้ขนาดเท่า ๆ กันทุกต้น หน้าตัดเป็นแปดเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้าปาดมุม #หน้าตัดกว้างราว 18 เซนติเมตร x 24 เซนติเมตร ที่เซาะร่องที่หินนี้คิดว่าเป็นของให้ปูนเกาะง่ายเมื่อจะถือปูน สมัยหนึ่งน่าจะเคยถือปูนปิดเนื้อหินเหมือนหลักกลางด้านทิศตะวันออก หรือเหมือนกับเจดีย์วัดสวนดอกที่มีเสายูปะ และแต่งทรงเรียบร้อยเหมือนกัน (แต่เจดีย์วัดสวนดอกเป็นของในต้นพุทธศตวรรษ 20)
เอกสารที่เป็นจดหมายเหตุต่าง ๆ หรือในกระบวนพระศรีรัตนมหาธาตุเองไม่มีความทรงจำ หรือคำอธิบายเกี่ยวกับเสายูปะนี้ แต่คำอธิบายมีอยู่ในเอกสารชิ้นหนึ่ง คือพระนิพพานโสตร (สำนวนที่ 4) ซึ่งเป็นตำนานพระบรมธาตุฉบับร้อยกรอง อยู่ในตอนที่อธิบายขั้นตอนการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์อย่างเป็นลำดับ แน่นอนว่าเราไม่อาจถือว่าคำอธิบายในพระนิพพานโสตรนี้เป็นของถูกต้องตัดสินได้ แต่ก็เป็นของมีความทรงจำน่าสนใจ ดังที่คัดมาบางส่วนนี้
พระนิพพานโสตรสำนวนที่ 4
…ศิลาเก้าแผ่นหนัก ฝังเป็นหลักทั้งแปดด้าน
ขัดคอบายสถาน โดยประมาณทำขึ้นใหม่
ตีนตรุย่อมเรียบอิฐ เป็นมิดชิดมั่นเหลือใจ
หินหลักปักขึ้นไป แปดทิศไซร้ดังกล่าวมา
จนถึงที่ปรางค์นั้น ทำแข็งขันปักศิลา
ชั้นนอกถัดออกมา อิฐนั้นหนาทำแข็งขัน
แต่ปรางค์นั้นขึ้นไป ศิลาใหญ่ทำชุมกัน
ประทุมโกศขึ้นไปนั้น เหล็กแข็งขันสุดยอดปลาย
สูงเส้นสิบห้าวา ในตำราท่านว่าไว้
สามศอกออกเศษได้ ทำมากมายสำเร็จพลัน
(เอกสารเมืองนครบางยุคเรียกส่วนก้านฉัตร ปล้องไฉนว่าปรางค์ เอกสารภาคใต้บางฉบับยังเรียกเจดีย์ว่าปรางค์ก็มี อย่างตํานานพระปรางค์เมืองหงสาวดี ฉบับวัดวิหารสูง เมืองพัทลุง เรียกพระธาตุมุเตาซึ่งเป็นสถูปว่าปรางค์)
ทั้งนี้มีประเด็นเพิ่มเติมเล็กน้อยคือ #ที่ท่าชีมีหลักหินเรียกกันว่า หินหลัก อยู่ต้นหนึ่ง พระหลัก ก็เรียก คิดอย่างตรวจสอบภาพถ่ายเก่าของหินหลักนี้ และไปดูหินที่กระจายอยู่ที่ท่าชีแล้ว ยังไม่เจอหินที่มีสัณฐานตรงกับยูปะพระธาตุ คือต้องเป็นหินที่มีหน้าตัด 8 เหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมปาดมุม หน้าตัดกว้างราว 18 เซนติเมตร x 24 เซนติเมตร ได้เดิรหาอยู่ในพระธาตุก็ไม่เจอที่เหมาะ ๆ เข้ากันได้ หากท่านใดเจอหินที่ต้องตามคุณสมบัตินี้รบกวนชี้แนะกันเข้ามานะครับ
เผยแพร่ครั้งเเรกใน - https://web.facebook.com/groups/menamluang/permalink/1176993872475687