บุดตำราช่างปรุงเรือน

    บุดตำราช่างปรุงเรือนเล่มนี้ ให้ข้อมูลถึงเคล็ดในการปรุงเรือนของคนต่างกลุ่มต่างฐานันดร ผ่านสัดส่วนสัมพันธ์ระหว่าง ตงกับขื่อ

    ผมคิดว่า ตง ในที่นี่ไม่ได้หมายถึงตงรับพื้นแต่หมายถึง อะเส ส่วนมงคลหัวขื่อ หรือมงคลหัวแป ไม่รู้ว่าหมายถึงอะไร หากเทียบกับบุดบางเล่มที่อธิบายถึงมงคลของโครงสร้างพื้น การไว้มงคลหมายถึงการทิ้งระยะของโครงสร้างให้ยื่นพ้นจากแนวเสาออกมา

    อาจจะยากที่จะพิสูจน์ทฤษฎีหรือเคล็ดที่ปรากฏในบุดนี้ว่ามีการใช้จริงไหม กว้างขวางแค่ไหน แต่ในแง่ของคติก็น่าสนใจระบบคิดในการปรุงเรือนของบุคคลต่างกลุ่มกันให้มีความแตกต่างกันลงไปในระดับระยะพื้นฐานซึ่งอาจยากต่อการรับรู้ด้วยสายตา แต่มีผลต่อจักวาลระดับย่อย ๆ

    ๐ สิทธิการิยะ ถ้าจะปลูกเรือนให้เป็นสวัสดิมงคล เมื่อจะปรุงกว้างยาวเรือนนั้น เอายาวตงมาตั้ง เอายาวขื่อมาบวกเข้าแล้วเอา ๓ คูณ ๘ หาร

.    ถ้าเศษ ๑ ชื่อคชลักษณ์ ปลูกกุฎีวิหาร เรือนพราหมณาจารย์ดี พึงไว้มงคลหัวตง ๗ นิ้วดีแล ถ้าใว้มงคลหัวขื่อชื่อมฤตยูมิดี

    ๐ เศษ ๓ ชื่อสีหลักษณ์ พึงปลูกปราสาทราชมณเฑียร แลเรือนท้าวพญาอยู่ มีไชยชำนะ ไว้มงคลหัวขื่อ ๙ นิ้วดี ถ้าไว้มงคลหัวตง ชื่อมฤตยูร้ายมิดี

    ๐ เศษ ๕ พึงปลูกเรือนเศรษฐี อาณาประชาราษฎร์อยู่ดี ไว้มงคลหัวตง ๑๑ นิ้วดีนัก ถ้าไว้มงคลหัวขื่อร้ายนักมิดี

    ๐ เศษ ๑๑ นิ้วดีนัก ถ้าไง้มงคลหัวขื่อร้ายนักมิดี

    ๐ เศษออก ๗ ชื่อตรีลักษณ์ ควรปลูกเรือนอำมาตย์เสนา แลโรงช้างมาลูกค้าวาณิชย์ดี พึงไว้มงคล ๑๒ นิ้ว ที่หัวขื่อดีแล

    ๐ เศษ ๒ พึงปลูกโรงครกสาก พึงไว้มงคล ๒ นิ้วที่หัวรับรอด จึงดีเป็รมคลแล

ใส่ความเห็น