ตำนานวัดถ้ำสิงขรเล่าว่า วัดถ้ำสิงขรมันสร้างพร้อมวัดน้ำรอบ วัดเขาพระอานนท์ เชือได้กี่มากน้อยนั้นยกไว้ แต่แสดงว่าโลกทัศน์ของตำนานนี้มันแสดงความเชื่อมโยงของชุมชนในลุ่มแม่น้ำตาปี โดยอาศัยเส้นทางจากอ่าวบ้านดอน เข้าลำน้ำที่เรียกเดี๋ยวนี้ว่า คลองพุนพิน (แต่เหมือนชาวท่าข้ามยังเรียกว่าคลองพุมดวงนะ) ที่ตำบลบางชนะ (ไม่ใช่ทางบางกุ้งที่จะลงผ่านตัวเมืองบ้านดอนเกาะลำพูลงมา)
จะต้องผ่านวัดเขาพระอานนท์ก่อน แล้วลงมาถึงวัดน้ำรอบ จนวัดถ้ำสิงขรเป็นสุดท้าย เส้นคลองพุมดวงนี้ดูเหมือนจะมีประโยชน์มากสำหรับการเดิรทางลึกลงไป อย่างน้อยกลุ่มคนในตาขุน พนม ก็ใช้เส้นทางนี้สัญจรเป็นหลักก่อนจะมีถนน และก็คงจะลงมาตั้งถิ่นฐานในตาขุน พนมตามเส้นนี้แหละ เพราะว่ายังมีเรื่องเล่าสมัยก่อนว่าเวลาเขารับจดหมาย รับเงินเดือนจากในบ้านดอน ก็จะมีเจ้าหน้าที่ประจำออกเรือตามน้ำพุมดวงเข้าเมืองครึ่งเดือน กลับมาอีกครึ่งเดือน พอดีจ่ายเงินเดือน
( แต่มันก็มีหลักฐานก่อนประวัติศาสตร์ อย่างขวานหิน กระดูก นี้มากเหมือนกัน ในคีรีรัฐ ตาขุน ในเขาสกก็เจอพอสมควร มีการศึกษาว่าช่องเขาที่ได้ท่วมกลายเป็นเขื่อนรัชประภาเดี้ยวนี้คือทางหนึ่งที่ใช้ตัดข้ามคาบสมุทรถาคใต้ตอนบน แต่ไม่ใช่ทางค้าขายเป็นทางเดิรตัดของคนพื้นที่เฉยๆ เพราะเส้นนี้จะตัดไปออกพังงา ตรงเกาะพระทอง และลงมาทุ่งตึกได้ไม่ลำบาก แหล่งที่เกาะพระทอง และทุ่งตึกนี้พบพระวิษณุมัธยมโยคสถานกะมูรติ ซึ่งเป็นรูปแบบเก่าแก่มาก และพื้นที่ตรงนี้เป็นสถานีการค้าจากอินเดียแหล่งที่จัดว่าเก่ามาก)
คลองพุมดวงก็น่าจะมีบทบาทในการเดิรทางมาตั้งแต่สมัยโบราณด้วย ขณะที่แม่น้ำตาปีเมื่อรวมกับคลองพุมดวงที่พุนพินแล้ว เส้นที่ผ่านเมืองบ้านดอนเดี๋ยวนี้ กลับไม่มีหลักฐานสถาปัตยกรรม หรือโบราณคดีที่เก่านัก และก็เป็นชุมชนชาวประมงจนถึงรัชกาลที่ 6 ขณะที่เส้นคลองพุมดวงตลอดสาย รวมสายที่เดี๋ยวนี้เรียกคลองพุนพินนั้นอุดมด้วยผู้คน สถาปัตยกรรม มากกว่า
ส่วนวัดถ้ำคูหา กาญจนดิษฐ์ซึ่งมีปูนปั้นเก่านั้นไม่สัมพันธ์กับแม่น้ำอะไรเลย น่าจะเป็นเส้นทางชายฝั่งทะเลมากกว่าเส้นแผ่นดินตอนใน กลุ่มนั้นมีวัดถนนสุวรรณประดิษฐ์ที่มีอาคารสมัยอยุธยาด้วย
*คลองพุมดวง มีหลายสิ่งน่าสนใจที่บ่งบอกว่ามันใช้เป็นเส้นทางการเดิรทางที่สำคัญ มีชุมชนขนาดใหญ่ตั้งตลอดลงถึงถึงคีรีรัฐเป็นอย่างน้อยในสมัยอยุธยา
**คลองพุนพิน เป็นทางออกอ่าวไทยหลักของบ้านนี้เมืองนี้ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ไม่ใช่เส้นแม่น้ำตาปีที่ผ่านบ้านดอน
***แต่น่าจะมีการกระจายตัวของชุมชนบริเวณบางต่างๆอย่างมากแล้วในสมัยอยุธยา อย่างน้อยการมีเรือนขุนประจันศึกประชิดอยู่ในบางใบไม้ก็แสดงว่าต้องมีชุมชนซับพอร์ตพอสมควร
เผยแพร่ครั้งแรกใน – https://web.facebook.com/photo/?fbid=10202438124913141&set=gm.454680938040321