ค้างคาวในจิตรกรรมวัดคูเต่ากับเรื่องเล่าค้างคาวปลายคลองอู่ตะเภา

    เมื่อปลายเดือนที่เเล้วผู้เขียนมีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชมจิตรกรรมฝาผนังภายในโบสถ์วัดคูเต่า ต.แม่ทอม อ.บางกล่ำ จ.สงขลา ครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่สองของผู้เขียนที่มีโอกาสเข้าไปชม ส่วนครั้งเเรกนั้นเมื่อหลายปีก่อน

    จิตรกรรมฝาผนังภายในวัดคูเต่านี้เป็นภาพที่บอกเล่าเรื่องราวในพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับเวสสันดรชาดกแต่มีจุดที่น่าสนใจคือ มีภาพที่สอดเเทรกเรื่องราวของผู้คนร่วมอยู่ด้วย เช่นภาพตำรวจ ภาพวิถีชีวิต เช่น ภาพคนกำลังยน(ตำ)หมาก ภาพที่อยู่อาศัย เช่นบ้านเรือน ตลอดจนภาพต้นไม้ และสัตว์นานาชนิด เช่น นกกาเหว่า เสือ ลิง และค้างคาว ภาพที่ผู้เขียนมีความสนใจเป็นพิเศษภาพหนึ่งนั้นคือภาพค้างคาวเพราะเคยอ่านเจอในหนังสือ “คนค้นคลอง คลองอู่ตะเภา:เครือข่ายแห่งสายน้ำ พื้นที่แห่งความสัมพันธ์” (ชาคริต โภชะเรือง, ๒๕๔๘) ที่ผู้เขียนได้ศึกษาเกี่ยวกับคลองอู่ตะเภา และได้เล่าเรียงไว้ว่ามีค้างคาวเเม่ไก่ฝูงขนาดใหญ่ที่พบที่ปลายน้ำคลองอู่ตะเภา ซึ่งอยู่ในบริเวณที่เป็นป่าพรุระหว่างบ้านควนกับบ้านท่าเมรุ ซึ่งผู้เขียนขอคัดลอกมาเสนอไว้ดังนี้

    “…อดีตกำนันพาเราเดินกลับมาตรงที่ป่าพรุ ซึ่งกินพื้นที่หลายสิบไร่ เราเลาะชายป่าเข้าไปในป่าพรุที่เวลานี้มีหญ้าขึ้นรกเต็มไปหมด ไม้เตี้ย ๆ กับเถาวัลย์ขึ้นเเทรกหนาตา สลับกับต้นไม้ใหญ่ขึ้นเเทรก อดีตกำนันบอกว่าบริเวณนี้ย้อนหลังไปเมื่อ ๓๐ ปีก่อน เป็นที่อาศัยของ #ค้างคาวแม่ไก่นับเเสนตัว ซึ่งมีคนเห็นค้างคาวฝูงนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่สองราว ๑๐ ปี…[1] “…ค้างคาวพวกนี้กินอะไร เข้าใจว่ามัน #กินลูกลำพู แต่มัน #กินลูกละมุด #กระท้อนมัน ไปในช่วงเวลากลางคืน ก่อนค่ำมันบินกลับ แล้วชาวบ้านป้องกันยังไง ไม่มีมีเเต่ไล่ ทำเป็น #กระรอก เอาปีบตั้งข้างบนแล้ว ใช้เชือกชักๆดังโครมๆ สมัยนั้นผลไม้เป็นสินค้าเหมือนกันเเต่ราคาถูก…”[2]

มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่ผู้วาดภาพค้างคาวที่โบสถ์วัดคูเต่าจะวาดเรื่องราวจริง ๆ ของค้างคาวที่มีอยู่ในพื้นที่ จะเห็นว่าคางคาวนั้นออกไปกินผลไม้ของชาวบ้าน ผลไม้ดังกล่าวมีลักษณะที่คล้าย ๆ กระท้อนอยู่เหมือนกัน อีกทั้งค้างคาวเเม่ไก่นั้นก็จัดอยู่ในกลุ่มค้างคาวกินผลไม้อีกด้วย

ผู้เขียนสันนิษฐานว่าต้นไม้ในจิตกรรมที่คางคาวกำลังกินอยู่คือต้นวา(พะวา)

ผู้เขียนสันนิษฐานว่าต้นไม้ในจิตกรรมที่คางคาวกำลังกินอยู่คือต้นวา(พะวา)

    อ่านข้อมูลเพิ่มเติมใน https://apps.phar.ubu.ac.th/phargarden/main.php?action=viewpage&pid=219

    ทั้งนี้ ในบทความเรื่อง “พันธุ์ไม้ป่าชายหาดและพื้นที่ชุ่มน้ำในจิตกรรมฝาผนัง วัดโพธิ์ปฐมาวาสและวัดคูเต่าจังหวัดสงขลา” ของ รศ. ดร.กิติเชษฐ์ ศรีดิษฐ์ นำเสนอข้อมูลจิตกรรมนี้ไว้น่าสนใจว่า “อาจเป็นพืชในกลุ่มมังคุด – ชะมวงง (Garcinia spp.) พันธุ์ไม้ที่พบมากในภาคใต้ตอนล่าง มีลูกที่ดึงดูดพวกค้างคาวผลไม้”[3]

    -วัดคูเต่ากับบ้านควนห่างกันประมาณ 4 กิโลเมตรจากป่าพรุน่าจะประมาณ 6 กิโลเมตร -บ้านควน อยู่ในตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ปลายน้ำคลองอู่ตะเภาก่อนออกทะเลสาบสงขลา -บ้านท่าเมรุ ต.บางกล่ำ อ.บางกล่ำ จ.สงขลา เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ปลายน้ำคลองอู่ตะเภาก่อนออกทะเลสาบสงขลา – ขอขอบคุณ อาจารย์ ดร. เอกลักษณ์ รัตนโชติ ——— อ้างอิง [1] : ชาคริต โภชะเรือง.(๒๕๔๘).คนค้นคลอง คลองอู่ตะเภา:เครือข่ายแห่งสายน้ำ พื้นที่แห่งความสัมพันธ์.กรุงเทพฯ:โครงการปฏิบัติการชุมชนและเมืองน่าอยู่ มูลนิธิชุมชนไทย. หน้า 180

[2] : ชาคริต โภชะเรือง.(๒๕๔๘).คนค้นคลอง คลองอู่ตะเภา:เครือข่ายแห่งสายน้ำ พื้นที่แห่งความสัมพันธ์.กรุงเทพฯ:โครงการปฏิบัติการชุมชนและเมืองน่าอยู่ มูลนิธิชุมชนไทย. หน้า 182

[3] : กิติเชษฐ์ ศรีดิษฐ์.(๒๕๖๕).พันธุ์ไม้ป่าชายหาดและพื้นที่ชุ่มน้ำในจิตกรรมฝาผนัง วัดโพธิ์ปฐมาวาสและวัดคูเต่าจังหวัดสงขลา.พิมพ์รวมเล่มใน สารคดี ฉบับหาดท้ายเหมืองพังงา ป่าสันทรายชายฝั่งผืนสุดท้ายของคาบสมุทรไทย. พฤศจิกายน ๒๕๖๕ หน้า 108

……….

เผยเเพร่ครั้งเเรกใน https://www.facebook.com/groups/250904708948593/permalink/687132931992433/

เผยแพร่ครั้งที่ 2 ใน

https://kyproject19.wixsite.com/kidyang/post/%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%B2

สามารถ สาเร็ม

คนแขกลุ่มทะเลสาบ ที่ชอบตามหาของแปลก ๆ ตามตลาดนัด

ใส่ความเห็น