“ตือปงซูนา” หนึ่งในขนมที่เป็นสินค้าอร่อยของ เมาะ (ยาย) ฮามีเนาะ ยีหมาด อายุ ๗๔ ปี อาศัยอยู่ที่บ้านกลาง ม.4 ต.โพธิ์ทอง อ.ท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช มุสลิมมลายูปตานี(ออแฤนายู/แกเเจะนายู) ผู้เขียนได้เจอกับเมาะที่ตลาดนัดสี่เเยกวันโหนดเมื่อสี่วันก่อนกับพี่ Nukio Luna Jan จากเมืองย่าโม เราสองคนไปซอกแซกวิทยาหาของกินหรอย ๆ กันที่ตลาดแห่งนี้
ตือปงซูนา ชื่อเรียกขนมที่เมาะเรียกคือภาษามลายูปตานี #ตือปงแปลว่าขนม#ซูนาแปลว่าปี่ เมื่อได้ยินชื่อดังกล่าวจากการเรียกของเมาะ ผู้เขียนก็ระลึกความทรงจำขึ้นมาได้ว่า เมื่อสิบปีก่อนที่ไปอยู่ปัตตานีคนมลายูปตานีเรียกขนมชนิดนี้ด้วยชื่อดังกล่าว เมื่อได้ยินชื่อนี้ที่นครศรีธรรมราชจึงชวนให้ยิ่งสนใจ ไม่พลาดที่จะอุดหนุนและพูดคุยกับเมาะสืบหาความเป็นมา…
เม๊าะฮามีเนาะให้ข้อมูลสรุปได้ว่า เม๊าะเป็นลูกหลานชาวมลายูปตานีเกิดที่บ้านกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช บรรพบุรุษรุ่นโต๊ะ (ตายาย)มาจากปาลัส(บ้านปาลัส ตำบลควน อำเภอปะนาเระจังหวัดปัตตานี) เมาะยังแกเเจะนายูได้ ในหมู่บ้านคนสูงอายุยังแกเเจะนายูส่วนลูกหลานคนหนุ่มคนสาวแหลงไทยกันโดยส่วนใหญ่ทั้งนี้เมาะแหลงไทยถิ่นใต้ได้ด้วย…
ขนมของเมาะ ในโพสนี้คนใช้ภาษาไทยถิ่นใต้รู้จักในชื่อ #ขนมตรวย_กรวย เป็นการเรียกตามลักษณะของขนมที่เหมือนกับตรวยหรือกรวยนั่นเอง อีกชื่อที่เรียกคือ #ขนมหางจิ้งจก เป็นการเรียกตามลักษณะของขนมที่มองว่าเหมือนหางจิ้งจกเช่นกัน ในขณะที่คนมลายูปตานีเรียกว่า ซูนา หมายถึง ปี่ เพราะมองว่ามีลักษณะเหมือนปี่นั่นเอง เวาะ Abu Gibrel Jacob#กูรูภาษามลายู และใช้พูดภาษาไทยภาคกลางได้ดีและไทยถิ่นใต้ได้ด้วย เป็นคนมลายูรัฐกลันตันประเทศมาเลเซีย ให้ข้อมูลว่า “…#ซูนา สำเนียงมลายูตานิง และ #ซรูนา สำเนียงกลันตัน มลายูตานิง ตัดตอนลงสั้นกว่ากลันตัน…”
จากการที่ได้ลิ้มลองรสชาติพบว่าตือปงซูนาของเมาะ แบ่งเป็นสองส่วนคือแป้ง ทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำตาล รสชาติหวาน ราดหน้าด้วยกะทิรสชาติเค็ม รับประทานทั้งสองอย่างพร้อมกันรสชาติจึงคลุกเคล้าผสมกันในปาก #ซือดะ ๆ #หรอย
ทั้งนี้ขนมวัฒนธรรมที่พบได้ในกลุ่มคนหลากชนชาติบนคาบสมุทรมลายูที่เรียกว่า #ต้ม ข้าวเหนียวผัดกับกระทิห่อด้วยใบกระพร้อของเมาะ #ยังห่อต้มแบบคนมลายูปตานีในแผ่นดินเเม่ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตน แตกต่างจากต้มของคนลุ่มเลสาบสงขลา ต้มคนไทย(นับถือพุทธ)นครศรีธรรมราช เมาะจะห่อต้มเพศชายเรียกด้วยชื่อมลายูปตานีว่า ตูปะยาเเต (ตูปะ = ต้ม /ยาเเต = ผู้ชาย)
เผยแพร่ครั้งแรกใน – https://web.facebook.com/samartsarem/posts/pfbid0FaAPRpbUqj8SaiwQ25G3SM7bUzHfWsA9j7znc7P7Xps8CibdKhpGhNE3WSykMYEul